วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 14

วัน จันทร์ ที่  29  พฤศจิกายน  พ. ศ. 2559   เวลา 09.30 – 12.30 น.
วันนี้คุณครู นัดนักศึกษาชั้นปีที่ 3 รวมกันทั้งสองเสกเพื่อ พูดคุย เกี่ยวกับตารางเรียน และแจกวัสดุการเรียนให้นักศึกษาคนละ 1 แพ็ค พร้อมแจกรางวัลเด็กดีและบอก แนวการเตรียมสอบปลายภาค





บันทึกครั้งที่ 13
วัน จันทร์ ที่  21  พฤศจิกายน  พ. ศ. 2559   เวลา 08.30 – 12.30 น.
เนื้อหา
คุณครูให้นักศึกษายืนเป็นวงกลม แล้วคุณครูก็ร้องเพลงรำวง ให้นักศึกษาเดิน เป็นวงกลมแล้วจับกลุ่มกัน 5 คน เมื่อจับกลุ่มเสร็จแล้วคุณครูให้แต่ละกลุ่มแต่งนิทานและออกมาแสดงหน้าชั้นเรียนโดยมีโจทย์ว่าสิ่งมีชีวิตพูดได้จะเกิดอะไรขึ้น
กลุ่มที่ 1 นิทานเรื่องถ้าฉันเดินได้
กลุ่มที่ 2 นิทานเรื่อง ยีราฟผู้กระหายน้ำ
กลุ่มที่ 3 นิทานเรื่องป่ามหัศจรรย์
กลุ่มที่ 4 นิทานเรื่องเพื่อนรัก
กลุ่มที่ 5 นิทานเรื่อง เจ้าหญิงกบ
ต่อมาคุณครู ให้ นักศึกษาแต่ละกลุ่มทำจังหวะดนตรี จากตัวเราเองโดยไม่ใช้วัสดุสิ่งของแต่ใช้ อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย ในการประกอบเพลงโดยคุณครู ให้จับกลุ่มรำวงเหมือนเดิม จะให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดเลือกเพลงมา 1 เพลง และทำดนตรีประกอบจังหวะเพลง
กลุ่มที่ 1 เพลงขอใจแลกเบอร์โทร
กลุ่มที่ 2 เพลงทะเลแสนงาม
กลุ่มที่ 3 เพลงอาบน้ำซู่ซ่า
กลุ่มที่ 4 เพลงพี่น้องกัน
กลุ่มที่ 5 เพลงนกกระจิบ

ความรู้ที่ได้รับ 
ได้แต่งนิทานเพื่อนำไปบูรณาการกับความคิดสร้างสรรค์
การประเมิน
ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมมาก
ประเมินคุณครู
คุณครูเข้าสอนตรงเวลา สร้างบรรยากาศให้นักศึกษาน่าเรียนอยู่เสมอ มีวิธีการสอนที่หลากหลาย ให้ทำกิจกรรม อยู่เสมอทำให้นักศึกษาเรียนอย่างสนุก



บันทึกครั้งที่ 12
วัน จันทร์ ที่ 14  พฤศจิกายน  พ. ศ. 2559   เวลา 08.30 – 12.30 น.
***หยุดเรียน*******
บันทึกครั้งที่ 11
วัน จันทร์ ที่ พฤศจิกายน  พ. ศ. 2559   เวลา 08.30 – 12.30 น.
เนื้อหา
คุณครูให้นักศึกษานำเสนอสิ่งประดิษฐ์จาก วัสดุเหลือใช้
1 บัวรดน้ำจากกระป๋อง
2 ไฮโลแกรมภาพ 3 มิติ
3 เตาอบป๊อปคอร์น จากกระป๋องน้ำอัดลม
4 รถขับเคลื่อนด้วยหนังยาง
5 เตาปิ้งพกพา
6 โคมไฟจากช้อน
7 ซิงค์ล้างจาน
8 เตาแก๊ส
9 หมวกจากกล่องนม
10 กระเป๋าจากกล่องนม
11 เครื่องคิดเลข แคชเชียร์
12 ถังขยะจากขวดน้ำ
13 เสื่อจากกล่องนม
14 กล่องดินสอจากขวดน้ำพลาสติก
15 โต๊ะเขียนหนังสือ
16 ลิ้นชักจากกล่อง
17 กระเป๋าจากกล่องกระดาษ
19 ร้อยเชือกรองเท้า
20 พื้นทำความสะอาดรองเท้า
21 ฝาชีจากขวดน้ำ
22 ที่คาดผมจากฝาเปิดกระป๋อง
23 ตู้เย็นจากขวดน้ำ
24 เคสโทรศัพท์
ต่อมาคุณครูให้นักศึกษาหยิบกระดาษคนละ 1 แผ่น โดยให้คิดโจทย์เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ของตนเอง โดยคุณครูให้อธิบาย โจทย์มี 2 ลักษณะ คือ โจทย์ที่เป็นปัญหาและโจทย์ที่เป็นเป้าหมาย เช่น ถ้าเราไปป่า แล้วอยากกินป๊อปคอร์นจะทำอย่างไร


ต่อมาคุณครู ให้ทำหนังสือตัวเลข ที่แต่ละกลุ่มทำค้างไว้เมื่อคราวที่แล้ว โดยคุณครูจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์มาให้เพื่อสะดวกในการทำหนังสือของนักศึกษา




ความรู้ที่ได้รับ 
ได้รู้จักสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ที่หลากหลาย
การประเมิน
ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมมาก
ประเมินคุณครู
คุณครูเข้าสอนตรงเวลา สร้างบรรยากาศให้นักศึกษาน่าเรียนอยู่เสมอ มีวิธีการสอนที่หลากหลาย ให้ทำกิจกรรม อยู่เสมอทำให้นักศึกษาเรียนอย่างสนุก

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 10
วัน จันทร์ ที่ 31  ตุลาคม พ. ศ. 2559   เวลา 08.30 – 12.30 น.
เนื้อหา
คุณครูให้ปั๊มใบการเข้าเรียน เมื่อเรียบร้อยแล้วคุณครูเริ่มการสอนด้วยตั้งคำถาม
ถามนักศึกษาว่าทำไมต้องจัดกิจกรรมบูรณาการ
1 ลักษณะพัฒนาการเด็กเชื่อมโยงกันทั้ง 4 ด้าน
2. เมื่อจัดให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็ก
กิจกรรมบูรณาการ
ออกแบบเอกสารให้แตกต่างเพราะสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
เป้าหมาย
เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน
*** คุณครูควรจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายทั้งวัสดุอุปกรณ์วิธีการเพื่อให้เด็กมีโอกาสได้ริเริ่มและนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์***
ต่อมาคุณครูได้มอบหมายให้นักศึกษาคิดสิ่งประดิษฐ์ที่จะนำมาสร้างสรรค์ได้เพื่อนำไปสอนผู้ปกครองโดยคุณครู หา มีวัสดุให้ได้แก่ขวดน้ำกระป๋องกล่องกระดาษให้คิดสิ่งประดิษฐ์ที่แตกต่างจากเดิมแล้วนำมาเสนอคุณครู อยากได้ไหมค่ะดิฉันเลือกประดิษฐ์เตาอบป๊อปคอร์น

ความรู้ที่ได้รับ 
  -  ได้รู้ที่เหลือใช้และวิธีการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อให้เด็กมีโอกาสคิดริเริ่มนำไปสู่ความคิดคล่องแคล่วความคิดยืดหยุ่นและความคิดละเอียดลออได้ การจัดกิจกรรมบูรณาการ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัยโดยเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ ที่เหลือใช้และวิธีการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อให้เด็กมีโอกาสคิดริเริ่มนำไปสู่ความคิดคล่องแคล่วความคิดยืดหยุ่นและความคิดละเอียดลออได้


การประเมิน
ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมมาก
ประเมินคุณครู
คุณครูเข้าสอนตรงเวลา สร้างบรรยากาศให้นักศึกษาน่าเรียนอยู่เสมอ มีวิธีการสอนที่หลากหลาย ให้ทำกิจกรรม อยู่เสมอทำให้นักศึกษาเรียนอย่างสนุก
บันทึกครั้งที่ 9
วัน จันทร์ ที่ 24  ตุลาคม พ. ศ. 2559   เวลา 08.30 – 12.30 น.
***หยุดชดเชยวันปิยมหาราช***
บันทึกครั้งที่ 8
วัน จันทร์ ที่ 17  ตุลาคม พ. ศ. 2559   เวลา 08.30 – 12.30 น.
เนื้อหา
คุณครูแจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่นเพื่อให้ออกแบบตัวเลขฮินดูอารบิก เลข 0-10 ให้น่าสนใจ คนละ 1 ตัวเลข เมื่อออกแบบตัวเลขเสร็จแล้วคุณครูให้นำกระดาษที่เราออกแบบตัวเลขมาติดที่กระดานหน้าห้องเรียนโดยให้นักศึกษาเรียนจากเลข 0 - 10 ตามกลุ่มของตนเอง
การที่จะให้เด็กออกแบบตัวเลขนั้นเด็กต้องมีประสบการณ์โดย
- ออกแบบจากตาเห็น
- ออกแบบจากการรับรู้เรื่องคุณสมบัติ
- ออกแบบเองโดยเปลี่ยนแปลงลักษณะ
- ออกแบบจากการคิดต่างจากเดิม
- ออกแบบจากความรู้สึกนึกคิด
จากนั้นคุณครูให้นั่งตามกลุ่มตัวเลข 1-10 แล้วนำภาพมาระบายสีให้สวยงามแล้วตัด กระดาษตามตัวเลขที่ออกแบบ ต่อมาคุณครูได้แจกกระดาษ 100 ปอนด์กลุ่มละ 10 แผ่นเพื่อให้นักศึกษา นำ มาคิดกิจกรรม ออกแบบกิจกรรมให้เด็กเกี่ยวกับตัวเลขของกลุ่มตนเอง กลุ่มของดิฉันออกแบบกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยคือเกมการศึกษาเกี่ยวกับตัวเลข 1-10
***ดิฉันออกแบบตัวเลข 3 เป็น ตัวกิ้งก่า ***




ความรู้ที่ได้รับ 

-                   ได้รับความรู้การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัยเกี่ยวกับตัวเลข
การประเมิน
ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมมาก
ประเมินคุณครู
คุณครูเข้าสอนตรงเวลา สร้างบรรยากาศให้นักศึกษาน่าเรียนอยู่เสมอ มีวิธีการสอนที่หลากหลาย ให้ทำกิจกรรม อยู่เสมอทำให้นักศึกษาเรียนอย่างสนุก
บันทึกครั้งที่ 7
วัน จันทร์ ที่ 10  ตุลาคม พ. ศ. 2559   เวลา 08.30 – 12.30 น.
เนื้อหา
คุณครูทบทวนความรู้เรื่องความคิดสร้างสรรค์ คือ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ต้องเป็นคนที่อารมณ์ดี คิดในแง่บวก คิดหาทางออกได้ และคิดสร้างสรรค์  เป็นความสามารถทางสมองที่ได้คิดอย่างซับซ้อน กว้างไกลหลายทิศทาง การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ครูมีบทบาทในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างหลากหลายทั้งวัสดุและวิธีการ เพื่อให้เด็กเห็นความแตกต่างจากการสังเกต ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาสริเริ่ม เพราะการเรียนรู้ของเด็กคือการรับรู้ เปรียบเทียบ และนำมาจัดหมวดหมู่
บทบาทของครู
-                 -   มีความเชื่อมั่น
-                 -   ยอมรับในความแตกต่าง
-                -    มองเห็นศักยภาพของเด็ก
-                  -  ไม่เปรียบเทียบเด็ก 
-                  -  วิธีการออกแบบกิจกรรมนำมาจากหลักสูตรเริ่มจากการกำหนดหน่วยกรหน่วยที่กำหนดมาจากสาระการเรียนรู้ และประสบการณ์สำคัญ
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
1 ความคิดริเริ่ม
2 ความคิดคล่องแคล่ว
3 ความคิดยืดหยุ่น
4 ความคิดละเอียดลออ
กิจกรรมในการเรียนการสอน
คุณครูให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มและ คุณครูได้จัดฐานไว้ 4 ฐาน ให้นักศึกษาเข้าทำกิจกรรมในแต่ละฐาน เปลี่ยนเงินให้ครบทุกฐาน
ฐานที่ 1 เป่าสีฟองสบู่


ฐานที่ 2 การเคลื่อนที่ของแมลง


ฐานที่ 3 พิมพ์มือผีเสื้อ


ฐานที่ 4 ประดิษฐ์สื่อจากจานกระดาษ ( กล้องป๋องแป๋ง )


ความรู้ที่ได้รับ 
-                 -  การส่งเสริมจินตนาการให้กับเด็ก
-                 -   ได้รู้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
-                 -   ได้รู้จักการทำกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
การประเมิน
ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมมาก
ประเมินคุณครู
คุณครูเข้าสอนตรงเวลา สร้างบรรยากาศให้นักศึกษาน่าเรียนอยู่เสมอ มีวิธีการสอนที่หลากหลาย ให้ทำกิจกรรม อยู่เสมอทำให้นักศึกษาเรียนอย่างสนุก


บันทึกครั้งที่ 6
วัน จันทร์ ที่ 3  ตุลาคม พ. ศ. 2559   เวลา 08.30 – 12.30 น.
เนื้อหา
คุณครูให้นำเสนอกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยแบบสตรีมสะเต็มของแต่ละกลุ่ม และให้เลือกจัดกิจกรรมให้กับเพื่อน มา 1 กิจกรรม
กลุ่มของดิฉัน  ได้หน่วยผลไม้


กลุ่มที่ 1 หน่วยบ้าน สร้างบ้านจากลังกระดาษ


กลุ่มที่ 2 หน่วยผลไม้ ทำมงกุฎผลไม้


กลุ่มที่ 3 หน่วยยานพาหนะ ทำหุ่นนิ้ว


กลุ่มที่ 4 หน่วยผลไม้ ทำโมเดลผลไม้


กลุ่มที่ 5 หน่วยปลา ทำปลาจากจานกระดาษ


กลุ่มที่ 6 หน่วยไข่ ทำไข่ล้มลุก



ความรู้ที่ได้รับ 
-                    การส่งเสริมจินตนาการให้กับเด็ก

-                   ได้รู้จักการทำกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย แบบ  STEM STEAM
การประเมิน
ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมมาก
ประเมินคุณครู
คุณครูเข้าสอนตรงเวลา สร้างบรรยากาศให้นักศึกษาน่าเรียนอยู่เสมอ มีวิธีการสอนที่หลากหลาย ให้ทำกิจกรรม อยู่เสมอทำให้นักศึกษาเรียนอย่างสนุก
บันทึกครั้งที่ 5
วัน จันทร์ ที่ 26  กันยายน พ. ศ. 2559   เวลา 08.30 – 12.30 น.
***สัปดาห์สอบกลางภาค***
บันทึกครั้งที่ 4
วัน จันทร์ ที่ 19  กันยายน พ. ศ. 2559   เวลา 08.30 – 12.30 น.
***ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง***

บันทึกครั้งที่ 3
วัน จันทร์ ที่ 12  กันยายน พ. ศ. 2559   เวลา 08.30 – 12.30 น.
เนื้อหา
STEM / STEAM Education
STEM” คืออะไร
(ชลาธิป สมาหิโต: 2557)
                   เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
                   นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
                    เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
STEM Education (สะเต็มศึกษา)
                   Science
                   Technology
                   Engineering
                   Mathematics
Science (วิทยาศาสตร์)
                    การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ
                    เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือ
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
Technology (เทคโนโลยี)
                   วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (ราชบัณฑิตยสถาน: 2557, 580)
                   สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
                   ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกร,
กบเหลาดินสอ เป็นต้น
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
                   ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง
                   กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 1)
                   ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
Mathematic (คณิตศาสตร์)
                   วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน:2557, 225)
                   เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ
รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ
                   ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ
                   เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่
ทุกเวลาอีกด้วย
“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
                   “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น
                   การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์
                   ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น
STEAM Education
                   การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art”
                   เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
STEAM Education (สะตีมศึกษา)
                   Science
                   Technology
                   Engineering
                   Art
                   Mathematics
กิจกรรมวันนี้
กิจกรรมที่ 1  ผีเสื้อจากจานกระดาษ โดยคุณครูมี จานกระดาษ  ไม้ไอติม  และสี  เตรียมไว้ให้


กิจกรรมที่ 2 สร้างบ้านผีเสื้อจากเศษกิ่งไม้


กิจกรรมที่ 3  วงจรผีเสื้อจากการปั้นดินน้ำมัน



ความรู้ที่ได้รับ
ได้รู้จักการทำกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย แบบ  STEM
STEAM
การประเมิน
ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมมาก
ประเมินคุณครู
คุณครูเข้าสอนตรงเวลา สร้างบรรยากาศให้นักศึกษาน่าเรียนอยู่เสมอ มีวิธีการสอนที่หลากหลาย ให้ทำกิจกรรม อยู่เสมอทำให้นักศึกษาเรียนอย่างสนุก